13/01/2012 07:02 เมื่อ 13/01/2012
อ่าน 1990
| ตอบ 0

สถานที่ประดิษฐาน พระวิหาร วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร กรุงเทพมหานคร
พุทธลักษณะ ศิลปะสุโขทัย
ปางมารวิชัย
ขนาด ๖ ศอก ๕ นิ้ว สูง ๗ ศอก ๑ คืบ ๙ นิ้ว
วัสดุ ทองคำเนื้อเจ็ดน้ำสองขา
วัดโชตินารามหรือวัดพระยาไกรเป็นวัดที่พระยาโชฏึกราชเศรษฐี (เจ้าสัวบุญมา) สร้างขึ้นแล้วถวายเป็นพระอารามหลวง
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ครั้นเมื่อถึงสมัยประชาธิปไตยใหม่ๆ คือ ปี ๒๔๗๘ วัดนี้มีสภาพเป็นวัดร้าง จึงมีการอัญเชิญพระประธานซึ่ง
เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่มาไว้ยังวัดสามจีน ต่อมาวัดสามจีนได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ มีการดำริที่จะสร้าง
พระวิหารขึ้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปที่เชิญมาจากวัดพระยาไกร แต่จะยกพระขึ้นประดิษฐานอย่างไรก็ไม่สำเร็จ จนกระทั่ง
วันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๔๙๘ มีฝนตกตอนใกล้รุ่ง พบว่าปูนตรงพระอุระแตกกะเทาะออกเห็นรักปิดทองอยู่ชั้นใน เมื่อกะเทาะ
ปูนออกหมดก็พบว่าเป็นพระพุทธรูปทองคำตลอดองค์ลักษณะงดงามสมบูรณ์เมื่อพิจารณาโดยพุทธลักษณะสันนิษฐานกันว่าเป็น
พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยแต่เหตุใดจึงมาปรากฏอยู่ที่วัด พระยาไกรในลักษณะพระพุทธรูปปูนปั้นไม่มีผู้ใดทราบ
แน่ชัด
การพอกปูนปิดบังพระพุทธรูปเป็นเรื่องที่พบได้บ่อยด้วยเจตนาจะซ่อน เร้นรักษาพระพุทธรูปสำคัญหรือล้ำค่าไว้ ในกรณีนี้
นับว่าปูนที่พอกปิดอยู่ช่วยรักษาพระพุทธรูปทองล้ำค่าองค์นี้ให้รอดพ้นภัย พิบัติมาได้จนถึงปัจจุบันอย่างน่าอัศจรรย์ อนึ่งพบว่าที่
ใต้ฐานทับเกษตรมีกุญแจกลสำหรับถอดองค์พระออกได้เป็น ๙ ส่วน ช่วยให้สามารถเคลื่อนย้ายองค์พระขึ้นประดิษฐานยังพระ
วิหารได้สำเร็จ และผู้สร้างหรือผู้หล่อองค์พระได้ใส่ทองคำสำรองรวมทั้งมุกที่ใส่พระเนตรมาให้อย่างครบถ้วน นับเป็นการสื่อ
สารข้ามศตวรรษระหว่างคนต่างยุคที่น่าอัศจรรย์อีกประการหนึ่ง
พระพุทธรูปองค์นี้เป็นที่เรียกขานกันว่า “พระสุโขทัยไตรมิตร” และเป็นที่รู้จักในหมู่ชาวต่างประเทศที่มุ่งมาชมอย่างเนื่อง
แน่นทุกวันว่า “Golden Buddha” จนกระทั่งเมื่อปี ๒๕๓๕ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ โปรดเกล้าฯพระราชทานนาม
พระพุทธรูปองค์นี้ว่า พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร ซึ่งเป็นนามของพระพุทธรูปทองคำที่ปรากฏอยู่ในจารึกของพญาลิไทสมัย
สุโขทัยซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระพุทธรูปองค์นี้นั่นเอง
จาก http://www.mcu.ac.th/site/bud07.php
|