ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ19/06/2011
อัพเดท5/02/2013
ผู้เข้าชม433058
แสดงหน้า650155




วันโกน วันพระ

30/10/2011 19:59 เมื่อ 30/10/2011 อ่าน 1765 | ตอบ 0
วันพระ หรือ วันธรรมสวนะ หมายถึง วันประชุมถือศีลฟังธรรมในพุทธศาสนา (ธรรมสวนะหมายถึง การฟังธรรม) กำหนดเดือนทางจันทรคติละ 4 วัน ได้แก่
 1.วันขึ้น 8 ค่ำ
 2.วันขึ้น 15 ค่ำ (วันเพ็ญ)
 3.วันแรม 8 ค่ำ
 4.วันแรม 15 ค่ำ(หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
          ในวันพระพุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรมสำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วยนอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆการทำบาปหรือไม่ถือศีลห้าในวันพระถือว่าเป็นบาปยิ่งในวันอื่น
         วันโกน เป็นภาษาพูด หมายถึง วันก่อนวันพระ ๑ วันประวัติความเป็นมา
            พระพุทธเจ้า ประทับ ณ ภูเขาคิชกูฏกรุงราชคฤห์ ในครั้งนั้น พวกปริพาชกอัญญเดียรถีย์ พอถึงวัน๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำประชุมกันกล่าวธรรม ชาวบ้านต่างพากันไปฟังธรรมกันด้วยความเลื่อมใส พระเจ้าพิมพิสารทรงดำริว่า พวกเดียรถีย์นอกพุทธศาสนา ประชุมกันแสดงธรรม ในวัน๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำเป็นที่นิยมเลื่อมใสของประชาชนถ้าพระคุณเจ้าทั้งหลายจะกระทำเช่นนั้นบ้างก็จะได้รับความเลื่อมใส จากเหล่าชาวบ้านเช่นเดียวกัน จึงทรงนำพระดำรินี้ขึ้นทูลพระพุทธเจ้า
        พระพุทธเจ้าจึงประชุมสงฆ์แล้วรับสั่งกับภิกษุทั้งหลายว่า...
'ภิกษุทั้งหลายเราอนุญาติให้ประชุมกันในวัน๑๔ ค่ำ ๑๕ ค่ำ ๘ ค่ำ แห่งปักษ์'
           ในครั้งนั้นพวกภิกษุประชุมกันแล้วพากันนิ่งเฉยหมด ชาวบ้านเข้าไปหาภิกษุเหล่านั้น พากันตำหนิว่าภิกษุเหล่านี้ ประชุมกันในวันพระแล้ว ทำไมจึงนั่งนิ่งเหมือนหมูอ้วนเล่าธรรมเนียมของภิกษุประชุมกันควรผู้แสดงธรรมมิใช่หรือ
         พระพุทธเจ้าทรงทราบ จึงทรงอนุญาตให้มีการแสดงธรรมในวันพระ และต่อมาทรงเห็นว่าควรจะนำเอาศีล ๒๒๗ ข้อของภิกษุ มาแสดงในวัน๑๔ หรือ ๑๕ค่ำ อันเป็นวันอุโบสถที่เรียกว่าปาติโมกข์ด้วย จึงเป็นประเพณีนับตั้งแต่นั้นมา (อุโบสถขันธกะ วินัย๔/๑๙๕)
          พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็น วันธรรมสวนะ (สำหรับวันธรรมสวนะนี้ เมืองไทยมีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย )
วันโกนวันพระนั้นเป็นวันทีสำคัญมากสำหรับสมัยก่อน เพราะถือเป็นวันหยุด และเป็นวันที่พุทธศาสนิกชนเดินทางไปทำบุญที่วัด ฝ่ายทางพระก็จะมีการปลงผมลงฟังพระปาติโมกข์ ทบทวนศีล 227 ข้อ
แต่ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 มีติดต่อกับประเทศทางตะวันตกมากขึ้น จึงมีการปรับเปลี่ยนไปใช้ปฏิทินแบบสุริยคติ แทนจันทรคติ ซึ่งชาวไทยใช้แบบจันทรคติมาแต่โบราณกาล คือแบบสุริยคติ ถือเอาพระอาทิตย์เป็นหลัก มีการหยุด วันเสาร์ อาทิตย์ แบบชาวตะวันตก เพราะอิทธิพลของศาสนาคริสต์ ซึ่งถือว่า วันสุดสัปดาห์เป็นวันพักผ่อนเพราะไบเบิลบันทึกว่า วันอาทิตย์เป็นวันพักผ่อนของพระผู้เป็นเจ้าหลังจากที่ทรงสร้างโลกมา
แบบจันทรคติ ถือเอาพระจันทร์เป็นหลัก มีการดูข้างขึ้น ข้างแรม ดูความเว้าแหว่งของดวงจันทร์ แล้วกำหนดว่า วันไหนเป็น วันเพ็ญ วันข้างขึ้น วันข้างแรมวันกี่ค่ำ
แต่เมื่อประเทศไทยเข้าสู่เวทีโลก มีการเปิดประเทศ ติดต่อ ค้าขายกับชาติตะวันตก ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนหลักการ นับวัน นับคืนเป็นแบบยุโรปตามไปด้วย หรือ ก็คือ นำเอาปฎิทินแบบสุริยคติมาใช้นั่นเอง
ดังนั้นจะว่าไปปฎิทินแบบสุริยคติเลยกลายเป็นปฏิทินสากลที่ทั่วโลกยอมรับใช้กันอยู่ในการติดต่อสื่อสาร ทำมาค้าขายในปัจจุบัน และ ปฎิทินแบบจันทรคติก็ค่อยๆ ลดบทบาทลงจนกระทั่งเป็นปฎิทินที่ใช้ในทางพระพุทธศาสนา ดูวันโกน วันพระ วันเพ็ญ และใช้ในทางโหราศาสตร์ ไปโดยปริยายไม่สามารถนำปฏิทินจันทรคติมาอ้างอิงในการติดต่อสื่อสาร ทำมาค้าขายกับสากลโลกได้อีกต่อไป
 
ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา