ติดต่อผู้ดูแลเว็บไซต์
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    
สถิติ
เปิดเมื่อ19/06/2011
อัพเดท5/02/2013
ผู้เข้าชม433060
แสดงหน้า650158




ประวัติ พระพุทธสิหิงค์

13/01/2012 06:58 เมื่อ 13/01/2012 อ่าน 4876 | ตอบ 0
พระพุทธสิหิงค์

                                                 

            สถานที่ประดิษฐาน         พระที่นั่งพุทไธศวรรย์ภายในบริเวณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระ
นคร
            พุทธลักษณะ                   ศิลปะลังกา
                                                 ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ
                                                 ขนาด หน้าตักกว้าง ๖๖ เซนติเมตร สูง ๙๑ เซนติเมตร
                                                 วัสดุ สำริด

            เป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นโดยกษัตริย์องค์หนึ่งของลังกา ได้มีการอัญเชิญมายังกรุงสุโขทัยในรัชสมัยพ่อขุนรามคำ
แหงมหาราช เมื่อกรุงสุโขทัยตกอยู่ใต้อำนาจกรุงศรีอยุธยาสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ (ขุนหลวงพะงั่ว) ได้ทรงอัญเชิญ
พระพุทธสิงหิงค์มาประดิษฐาน ณ กรุงศรีอยุธยา
            พระพุทธสิงหิงค์เป็นพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งที่ผู้ครองเมืองทั้ง หลายปรารถนาที่จะได้ไว้เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง จึงปรากฏตามประวัติว่าได้มีการอัญเชิญพระพุทธสิงหิงค์ย้ายไปมาระหว่างกรุง ศรีอยุธยากับเมืองเชียงใหม่สุดแต่สถานการณ์
์และอำนายทางการเมืองจนกระทั่งในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์เมื่องเชียงใหม่เจ้ารวมอยู่ในการปกครองของกรุงเทพฯ สมเด็จ
พระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาททรงอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ลงมาประดิษฐานฯ ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ใน พระบวรราชวัง
เมื่อปี ๒๓๓๘
            เมื่อสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทสวรรคต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดฯ ให้
อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงอัญเชิญกลับมายังพระบวรราชวังด้วยพระราชประสงค์จะปราดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดบวรสถานสุทธาวาสซึ่ง
เป็นวัดในเขตพระราชฐานที่กำลังอยู่ระหว่างการปรับปรุงแต่เสด็จสวรรคตเสียก่อนพระพุทธสิหิงค์จึงประดิษฐานอยู่ ณ พระที่
นั่งพุทไธสวรรย์สืบมาจนปัจจุบัน

        พระพุทธสิหิงค์ ( เชียงใหม่ )

                                    

 
         สถานที่ประดิษฐาน         วิหารลายคำ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร ตำบงพระสิงห์ อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่

            พุทธลักษณะ                  ศิลปะเชียงแสนสิงห์หนึ่ง
                                                 ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร
                                                 ขนาด หน้าตักกว้าง ๑ เมตร
                                                 วัสดุ สำริด ลงรักปิดทอง

            เมื่อพุทธศักราช ๑๙๕๐ ขณะเมื่อพระพุทธสิหิงค์ยังประดิษฐานอยู่ ณ เมืองเชียงราย เชียงรายกับเชียงใหม่เกิดการรบ
พุ่งกันขึ้นเชียงใหม่เป็นฝ่ายชนะ พระเจ้าแสนเมืองมาแห่งนครเชียงใหม่จึงโปรดให้อัญเชิญพระพุทธสิหิงค์มายัง เชียงใหม่โดย
ล่องเรือมาตามลำน้ำปิง
            เรือที่อัญเชิญพระพุทธสิงหิงค์มาเทียบท่าขึ้นฝั่งยังนคร เชียงใหม่ที่ท่าวังสิงห์คำขณะเชิญขึ้นพระดิษฐานบนบุษบก
ปรากฏรัศมีจากองค์พระเรืองรองเป็นลำไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไกลถึง ๒๐๐๐ วา ต่อมาจึงได้มีการสร้างวัดขึ้น ณ ที่นั้น
ได้ชื่อตามเหตุอัศจรรย์ในครั้นนั้นว่า วัดฟ้าฮ่าม ซึ่งหมายถึงฟ้าอร่ามนั่นเอง
            แต่แรกนั้นพระเจ้าแสนเมืองมาตั้งพระทัยจะอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ ไปประดิษฐานยังวัดสวนดอกซึ่งตั้งอยู่นอกเวียงออก
ไปทางทิศตะวันตก แต่เมื่อชักลากบุษบกไปถึงวัดสีเชียงพระก็มีอันติดขัดไม่อาจลากต่อไปได้ พระเจ้าแสนเมืองมาถือเป็นศุภนิมิตร
จึงโปรดให้สร้างมณฑปขึ้น ณ วัดลีเชียงพระและประดิษฐานพระพุทธสิหิงค์ไว้ ณ วัดนั้น
            เมื่อพระพุทธสิหิงส์ประดิษฐานอยู่ ณ วัดลีเชียงพระ ความศรัทธาเลื่อมใสของชาวเมืองที่มีต่อพระพุทธรูปองค์นี้ทำให
้ชาวเมืองเชียงใหม่พากันเรียกชื่อวัดตามนามพระแต่เนื่องจากชาวเมืองเรียกนามพระพุทธสิหิงค์กร่อนเป็นพระสิงห์ วัดพระพุทธ
สิหิงค์จึงกลายมาเป็นวัดพระสิงห์ดังเช่นทุกวันนี้

         พระพุทธสิหิงค์ ( นครศรีธรรมราช )

                                    

            สถานที่ประดิษฐาน        หอพระพุทธสิหิงค์ ในบริเวณศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช
            พุทธลักษณะ                  ศิลปะแบบขนมต้ม (สกุลช่างนครศรีธรรมราช)
                                                ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร
                                                ขนาด หน้าตัดกว้าง ๑๔ นิ้ว สูง ๑๖.๘ นิ้ว
                                                วัสดุ สำริด

             พระพุทธสิหิงค์เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองนครศรีธรรมราชมาช้า นานชาวนครศรีธรรมราชเชื่อกันว่าพระพุทธรูปนี้
คือ พระพุทธสิหิงค์องค์ที่ปรากฏเรื่องราวตาม “สิหิงคนิทาน” หรือตำนานของพระพุทธสิหิงค์ เนื่องจากมีความที่ระบุเรื่องราว
เกี่ยวข้องกับเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ กล่าวคือ พ่อขุนรามคำแหงแห่งกรุงสุโขทัยได้ทรงทราบกิติศัพท์เกี่ยวกับพระพุทธสิหิงค์
จึงโปรดให้พระยานครศรีธรรมราชแต่งทูตอัญเชิญพระราชสาส์น ไปขอประทานพระพุทธสิหิงค์จากกษัตริย์ลังกา ซึ่งพระเจ้า
กรุงลังกาก็ถวายให้สมพระราชประสงค์จึงได้มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์เข้ามายังดินแดนไทยโดยผ่านทางนครศรีธรรมราช
ซึ่งเป็นเมืองที่มีการติดต่อสัมพันธ์อยู่กับลังกาอย่างใกล้ชิด ตามตำนานนั้นว่าพ่อขุนรามคำแหงเสด็จไปรับพระพุทธสิหิงค์ถึงยัง
นครศรีธรรมราชด้วยพระองค์เอง
             พระพุทธสิหิงค์เป็นที่เลื่อมใสเคารพบูชาในหมู่ชาวภาคใด้โดย เฉพาะชาวนครศรีธรรมราชเป็นอย่างยิ่งว่ากันว่าผู้ทุจริต
คิดมิชอบทั้งหลายจะไม่กล้าสาบานต่อหน้าองค์พระเลย หลังจากที่ได้อัญเลิญพระพุทธสิหิงค์มาประดิษฐานที่ศาลากลางจังหวัด
แล้วคดีความที่จะต้องขึ้นโรงขึ้นศาลลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากมักมีการเอ่ยอ้างนามพระพุทธสิหิงค์ในการสาบานตัว ทำให้ไม่มีใครกล้าเบิกความเท็จ
             มีการอัญเชิญพระพุทธสิหิงค์ออกให้ประชาชนสรงน้ำในเทศกาลสงกรานต์เป็นประจำทุกปี


จาก
http://www.mcu.ac.th/site/bud07.php


ความคิดเห็นของผู้เข้าชม
ชื่อผู้แสดงความคิดเห็น :
สถานะ : รหัสผ่าน :
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง :
รหัสความปลอดภัย :
 


ขอบคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชมเว็บไซต์ของเรา